การเลือกสัตว์เลี้ยง ให้เหมาะสมกับเจ้าของ

การเลือกสัตว์เลี้ยง ให้เหมาะสมกับเจ้าของ สัตว์เลี้ยงเปรียบเสมือนเพื่อนหรือส่วนหนึ่งของครอบครัวเรา ดังนั้นก่อนที่จะเลือกสัตว์ชนิดใด ผู้เลี้ยงควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆก่อนที่จะตัดสินใจนำสัตว์มาเลี้ยง เนื่องจากสัตว์แต่ละชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกัน หรือสัตว์ประเภทเดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์ย่อมมีลักษณะนิสัยที่ต่างกัน ดังนั้น เบื้องต้นเราควรสำรวจตัวเองก่อนว่าเราเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์ประเภทใดและมีความพร้อมเพียงพอหรือไม่

การเลือกสัตว์เลี้ยง ให้เหมาะสมกับเจ้าของ ความพร้อม

1. การเลือกสัตว์เลี้ยง ให้เหมาะสมกับเจ้าของ ความพร้อมของผู้เลี้ยง อย่างแรกคือ ผู้เลี้ยงต้องถามตัวเองก่อนว่ามีความพร้อมหรือไม่ในการที่ต้องเริ่มต้นดูแลชีวิตใหม่ เพราะการเลี้ยงนั้นสิ่งสำคัญคือเวลาและการดูแลเอาใจใส่จากผู้เลี้ยง ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงปลาที่ดูเหมือนอาจไม่ต้องใช้เวลามากเหมือนสัตว์ชนิดอื่น แต่แท้จริงแล้วปลาก็ต้องการความใส่ใจจากผู้เลี้ยงโดยการหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือทำความสะอาดตู้สม่ำเสมอเป็นต้น นอกจากนี้เรื่องของสมาชิกในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญ ในครอบครัวที่มีเด็ก หรือแม้แต่ตัวผู้เลี้ยงเองที่เป็นเด็กเอง การเลี้ยงสัตว์ช่วยฝึกให้เด็กมีความโอบอ้อมอารี มีนิสัยอ่อนโยนมากขึ้น แต่เด็กเล็กอาจยังมีความรับผิดชอบไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยงประเภทที่ต้องการการดูแลมากๆ หรือการเลี้ยงสัตว์ประเภทขนยาวก็ก่อให้เกิดปัญหาโรคภูมิแพ้ได้ในเด็กหรือผู้สูงอายุ

2. ประเภทของสัตว์เลี้ยง เนื่องจากสัตว์เลี้ยงนั้นมีหลายประเภท ไม่ใช่เพียงแค่สุนัขหรือแมวเท่านั้น ผู้เลี้ยงจึงควรสำรวจตัวเองก่อนว่าสนใจหรือมีความชอบสัตว์ประเภทใด หรือสายพันธุ์อะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มสัตว์เลี้ยงพิเศษที่เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน เพราะผู้เลี้ยงควรทราบถึงลักษณะนิสัยว่าสัตว์ประเภทที่ผู้เลี้ยงสนใจนั้นเป็นสัตว์ที่ต้องการสังคม ชอบอยู่รวมกัน หรือรักสันโดษมักชอบอยู่เพียงลำพัง เรื่องพฤติกรรมทั่วไปในการดำรงชีวิตประจำวันซึ่งสัมพันธ์กับเรื่องพื้นที่ในการเลี้ยง เช่น สุนัขสายพันธุ์ใหญ่มักต้องการกิจกรรมที่ต้องใช้พื้นที่กว้างในการวิ่งเล่นออกกำลังกาย ถ้าผู้เลี้ยงมีพื้นที่จำกัดการเลือกเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์เล็กจึงมีความเหมาะสมกว่า เรื่องของอาหาร เช่นในแมวนั้นมีความต้องการอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีนที่มากกว่าในสุนัข หรือแม้แต่โรคประจำสายพันธุ์ สัตว์แต่ละสายพันธุ์มักมีโรคที่เกิดจากพันธุกรรมที่พบได้บ่อยๆ เช่น สุนัขกลุ่มสายพันธุ์หน้าสั้นมักมีปัญหาในเรื่องระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องพิจารณาดูว่าพร้อมหรือไม่ที่จะต้องดูแลเขาเหล่านี้ไปตลอดชีวิต

3. ค่าใช้จ่าย สิ่งที่ต้องพิจารณาตามมาคือในเรื่องของค่าใช้จ่ายประจำวัน ผู้เลี้ยงควรคำนวณว่ามีงบประมาณเท่าใด การเลี้ยงสัตว์ประเภทนั้นๆกระทบต่อการใช้จ่ายส่วนตัวหรือไม่ เช่นการเลี้ยงสุนัขพันธุ์ใหญ่ซึ่งต้องการอาหารปริมาณมาก ค่าใช้จ่ายต่อเดือนยิ่งสูงมากตามไปด้วย

4. อายุของสัตว์เลี้ยง กรณีของสัตว์ที่ยังอายุน้อยมาก เช่น เพิ่งหย่านมจากแม่ ผู้เลี้ยงอาจต้องใช้ความเอาใจใส่ดูแลมากกว่าปกติ ทั้งเรื่องของสุขภาพ อาหาร และความสะอาดและ แต่กรณีที่สัตว์เลี้ยงอายุโตระดับหนึ่งแล้วอาจเกิดปัญหาในเรื่องของการปรับตัว หรือการฝึกให้เชื่อฟังนั้นทำได้ยากกว่า

5. เพศ โดยทั่วไปนั้นปัจจัยเรื่องเพศมักส่งผลต่อพฤติกรรมหรือนิสัยตัวของสัตว์ด้วย เช่น สัตว์เพศผู้มักมีความเป็นผู้นำ มีการแสดงอาณาเขต เช่นการ ปัสสาวะตามที่ต่างๆซึ่งผู้เลี้ยงที่ไม่เข้าใจอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่ผู้เลี้ยงควรทำความเข้าใจก่อนว่าตัวผู้เลี้ยงเองนั้นมีความพร้อมหรือเหมาะกับการเลี้ยงสัตว์หรือไม่ หรือเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์ประเภทใด ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสัตว์เลี้ยงโดดทอดทิ้งจนเป็นภาระของสังคมตามมา

การจัดการสัตว์เลี้ยงอย่างมีความรับผิดชอบ
“การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างมีความรับผิดชอบ” ฟังดูเรียบง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณา และแทบไม่ต่างจากการวางแผนมีลูกเลย ดังนั้นจึงต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ เราจำเป็นต้องพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของสัตว์เลี้ยง และสัตว์เลี้ยงของเรา เช่น เมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์หากป่วย พื้นที่.

3 จุดสำคัญสำหรับการเลี้ยงดูอย่างมีความรับผิดชอบ

1) การเลือกสัตว์เลี้ยง ให้เหมาะสมกับเจ้าของ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของสัตว์เลี้ยง ถือเป็นปัจจัยแรกที่ควรคำนึงถึงเพื่อพิจารณาว่าสภาพความเป็นอยู่ของเราเหมาะสมกับสัตว์เลี้ยงประเภทนี้หรือไม่ เช่น หากคุณเป็นคนที่ไม่ชอบขยับตัว การอาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัด การเลี้ยงสุนัขพันธุ์ใหญ่หรือสุนัขพันธุ์ที่มีพลังงานมากอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด นอกจากนี้คุณควรตรวจสอบปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เช่น: เช่น สุนัขหน้าสั้นที่มักมีปัญหาเรื่องการหายใจเนื่องจากโครงสร้างใบหน้าผิดรูป อาจต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหา การตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยผู้เลี้ยงแกะประเมินความพร้อมของเขาก่อน วิธีเตรียมตัวก่อนรับสัตว์เลี้ยงมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว

2) ความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงของเรา เพราะสัตว์เลี้ยงไม่สามารถดูแลตัวเองได้ทุกเรื่อง ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องมีเวลาดูแล ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของสัตว์ เช่น เวลาพาสุนัขเดินเล่น รักษาความสะอาดและสุขอนามัยของสัตว์เลี้ยง การไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำวัคซีนและถ่ายพยาธิทำให้มั่นใจในสวัสดิภาพและสุขภาพโดยทั่วไปของสัตว์

3) ความรับผิดชอบต่อผู้อื่นในสังคม เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะเราอยู่ในสังคมที่หลากหลาย ไม่ว่าเราจะปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงของเราเหมือนครอบครัวอย่างไร เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสัตว์เลี้ยงของเราไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน การทำให้สัตว์เลี้ยงสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ดังนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงมีหน้าที่ดูแลส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงของพวกเขา เช่น: ข. การฝึกพฤติกรรมเพื่อให้สัตว์เลี้ยงของเราไม่ก่อความวุ่นวายแก่ผู้อื่น การรักษาความสะอาดเมื่อสัตว์เลี้ยงของเราพักผ่อนในที่สาธารณะ

 

บทความแนะนำ